หลวงปู่ทวด รุ่นทะเลซุง ปี 2508

หลวงพ่อทวด รุ่นทะเลซุง ปี 2508

หลวงปู่ทวด พ.ศ 2508 สร้างโดยพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธัมมธโร) แห่งวัดช้างให้(วัดราษฎร์บูรณะ) ตำบลบ้านไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยมีพระครูวิสัยโสภณเจ้าอาวาสวัดช้างให้เป็นประธานในพิธีบริกรรม ได้อาราธนาอัญเชิญดวงวิญญาณหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดมาให้ท่านประสิทธิ์ ประสาทความขลัง แก่พระเครื่อง เสร็จแล้วจึงได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านนำไปสักการะบูชา

ส่วนคำว่า "ทะเลซุง" นั้น จากการศึกษาข้อมูล พบว่ามาจากเหตุการณ์อุทกภัยที่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่บนเทือกเขาหลวง เป็นพื้นที่ลาดชัน บ้านคีรีวงเกิดอุทกภัยใหญ่ มรสุมลูกนั้นทำให้ฝนตกหนักมากในเทือกเขาหลวงและเกิดน้ำป่าพัดพาเอาซุงที่ถูกลักลอบตัดโค่นแอบไว้ในป่ารวมทั้งต้นไม้ที่หักโค่นไหลลงมาโถมทำลายบ้านเรือนเสียหายอย่างหนักและมีคนตายเป็นจำนวนมาก
จากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงมีคำเรียกกันถึงภิบัติภัยของบ้านคีรีวงว่า เหมือนถูก "ทะเลซุง" โถมทับ

ทางด้านความเชื่อเรื่องพระเครื่องทะเลซุง ผู้ที่รอดในเหตุการณ์ต้องมีคนที่ห้อยหลวงปู่ทวดอย่างแน่นอน เพราะหลวงปู่เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงทั่วภาคใต้ ส่วนพระที่ห้อยจะเป็นรุ่นบัวห้า บัวหก เม็ดแตง หรือรุ่นใดไม่ทราบได้ คงต้องหาโอกาสค้นคว้ากันต่อไปครับ


ทะเลซุง 2508 จะมีทั้งพิมพ์บัว 5 และ พิมพ์บัว 6 แต่ที่นิยมหาเล่นกันจะเป็นบัว 6 ครับ

สาเหตุ ที่พิมพ์บัว 5 ไม่ได้รับความนิยมเพราะ สร้างออกมาค่อนข้างเยอะเอาไว้แจกเด็กๆให้ได้ใช้กัน จึงไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัดว่าสร้างเท่าไร

ส่วนพิมพ์บัว 6 วงการพระเครื่อง ยึดถือตามกันมา ว่า พระเครื่องรุ่นทะเลซุง มีการสร้างจริง แต่องค์ พระจะมีกะไหล่ผิว แห้ง ตามอายุ ที่สำคัญ บัวใต้ฐาน องค์หลวงพ่อทวด มีจำนวน 6 คู่ บางองค์ ด้านหลังระบุ องค์วัดช้างให้ หรือ วัดช้างให้ หรือ และ หลังเจดีย์ หรือ หลังยันต์ และ อาจะมีลูกแก้ว ไม่มีลูกแก้ว ก็มี

* ทะเลซุง "นิยม" พิมพ์เล็กมีทั้งมีหู และไม่มีหู บัว 6 ที่ด้านหลัง เป็น เจดีย์ และ มี คำว่าองค์วัดช้างให้ มีทั้งกะไหล่ทอง และ นิกเกิ้ล และบัวจะกลมมน เล่นกันนิยม เนื่องจากถือว่า เป็น พิมพ์กรรมการ

* ทะเลซุง บัว 6 พิมพ์ใหญ่ กลาง และ เล็ก มีหู ที่ด้านหลัง เป็น เจดีย์ และ มี คำว่าวัดช้างให้ กะไหล่ทอง ก็ได้รับความนิยม มากเช่นกัน
ส่วนอีกพิมพ์ หนึ่งซึ่งได้รับ ความนิยม ตามมาติดๆ คือ

* ทะเลซุง บัว 6 พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก หลังหนังสือ ที่ด้านหลัง เป็น หลังยันต์ กะไหล่ทอง ก็ได้รับความนิยม มากเช่นกัน

สาเหตุ ที่ทะเลซุงพึ่งได้รับความนิยม เนื่องจาก

พระเครื่องที่สร้าง ในปี 08 ขาดเอกลักษณ์ และมีพระปี 05 ค้ำอยู่ จึงไม่ได้รับความสนใจ ขาดการบันทึก ขาดการให้ข้อมูล ยิ่งนักสะสมในสมัยก่อน มัก นิยม รุ่นแรก รุ่นเก่า
แต่เมื่อ พระเครื่องหลวงพ่อทวด ได้รับความนิยม อย่างมาก ประกอบ กับ พระเครื่องใน ปี 2497 2500 2505 เริ่มหายาก ราคาสูง นักสะสม จึงหันมา ให้ความสำคัญ กับพระเครื่องในปี 2508 เช่น มีการพูดถึง เตารีด 2508 หลังหนังสือ 2508 ทะเลซุง 2508 แหวน 2508 ซึ่ง เมื่อก่อน นักสะสมบางท่าน ไม่สนใจ ด้วยซ้ำ ครับ เพราะ ไม่มีระบุ ในหนังสือ โปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว ใดๆ เพิ่งมามีในยุคหลังครับ ที่มีข้อมูล มากขึ้น ทำให้ พระปี 2508 ได้รับความนิยม มากขึ้น ตามลำดับ และ รวมถึง ทะเลซุง ปี 2508 ด้วย


ภัยพิบัติทะเลซุง
คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com


ผมเป็นคนเชียงใหม่ อยากรู้เรื่องภัยพิบัติทะเลซุงที่บ้านกะทูน นครศรี ธรรมราช ว่าเกิดขึ้นเมื่อไรครับเดชา

ตอบ เดชา

ฝ่ายธรณีพิบัติภัย กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม บันทึกเหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย ไว้ในเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 เกิดเหตุดินถล่มที่บ้านกะทูนเหนือ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตประมาณ 230 คน บ้านเรือนเสียหายประมาณ 1,500 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 6,150 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท

ค้นดูข้อมูลของสื่อมวลชนหลายสำนักในช่วงปีนั้น ระบุว่า เหตุการณ์หายนะครั้งนั้นครอบคลุมพื้นที่หลายตำบลใน จ.นครศรีธรรมราช ทั้ง ต.กะทูน ซึ่งอยู่ใน อ.พิปูน และหมู่ บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา ซึ่งลักษณะทางภูมิศาสตร์ของทั้ง 2 แห่งเป็นที่ราบหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบและมีป่าอุดมสมบูรณ์

ก่อนเกิดเหตุในเดือนพฤศจิกายน มีพายุฝนตกหนักในพื้นที่ติดต่อกันหลายวันและมีลมพายุพัดกระหน่ำอย่างรุนแรงจนถึงเวลาค่อนรุ่งของวันที่ 22 ชาวบ้านที่กำลังนอนหลับพักผ่อนภายในบ้านก็ได้ยินเสียงดังโครมครามพร้อมกับมรสุมกระแสน้ำป่าที่ไหลทะลักมาพร้อมกับต้นยางพาราที่หลุดโค่นทั้งรากเข้าถล่มบ้านเรือนที่พักอาศัยอย่างชนิดตั้งตัวไม่ติด

แต่เหตุที่กะทูนเลวร้ายกว่า เพราะนอกจากจะมีต้นไม้ที่มีรากไม้โค่นล้มลงมาถล่มทับแล้วยังมีท่อนซุงขนาดใหญ่หลายพันท่อนที่ขบวนการลักลอบตัดไม้ทิ้งเอาไว้ถูกกระแสน้ำพัดพาลงมาเบื้องล่างด้วย ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านอย่างมากมายมหาศาล

นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปีในเวลานั้น

หลังเกิดเหตุหลายหน่วยงานพยายามเดินทางเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่เต็มไปด้วยความยากลำบาก ช่วงแรกใช้การเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น การค้นหาและช่วยเหลือผู้รอดชีวิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายวัน

เหตุครั้งนั้นส่งผลให้ชาวพิปูนที่รอดตายต้องอพยพไปอยู่อาศัยในที่ต่างๆ หลายแห่ง เช่น กิ่งอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ที่ดินป่าสงวนกรุงหยัน ตำบลกุแหระ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ดินทุ่งนาเมืองชัย ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

เป็นพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้ทรงช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยการจัดหาที่พักอาศัยและพื้นที่ทำกินให้กับผู้ประสบภัยอย่างถาวร โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน "จุฬาภรณ์" และอพยพผู้ประสบภัยเข้าไปอยู่อาศัย มีการส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎรในหมู่บ้านอย่างครบวงจร

นอกจากนี้ยังมีโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนและโครงการ สร้างอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง เพื่อป้องกันภัยอย่างถาวรให้แก่ชาวบ้านด้วย

ทั้งนี้สื่อมวลชนยังระบุด้วยว่า ความสูญเสียในครั้งนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะพื้นที่ที่บ้านกะทูน จุดเกิดเหตุทะเลซุงนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น