หลวงปู่คำ วัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อริยสงฆ์ ๕ แผ่นดิน ผู้หยั่งรู้กาลอนาคต


เหรียญหล่อเจ้าสัวเจ้าทรัพย์ หลวงปู่คำ วัดหนองแก หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ สร้างปี 2534
ซึ่งถือเป็นเหรียญหล่อเจ้าทรัพย์ เหรียญแรกของเมืองไทยหลวงปู่คำได้ทำการปลุกเสกตลอด 1 ไตรมาส และได้นำเข้าทำการปลุกเสกในพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง ภายในอุโบสถวัดหนองแก ในวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2534
ในเรื่องของพุทธคุณนั้น เหรียญเจ้าสัวเจ้าทรัพย์หลวงปู่คำ วัดหนองแก เด่นทางด้านโชคลาภ ทำมาค้าขาย และทางด้านแคล้วคลาด


"หลวงปู่คำ สุวัณณโชโต" วัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ยอดพระสงฆ์ 5 แผ่นดิน เป็นศิษย์สายตรงอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงปู่นาค วัดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งท่านได้รับถ่ายทอดวิทยาคมวัตถุมงคลของท่าน ปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักสะสมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น เหรียญหล่อเจ้าทรัพย์ เหรียญหล่อปรกโพธิ์ พระกริ่งหนองแกหน้าอินเดีย พระกริ่งหนองแกหน้าจีน พระคงเนื้อผง รูปหล่อเหมือนขนาดบูชา เป็นต้นอัต โนประวัติ พระครูประสิทธิวรการ หรือ หลวงปู่คำ มีนามเดิมว่า คำ สุขศรี เกิดเมื่อปี พ.ศ.2436 ตรงกับ ร.ศ.122 ที่ ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอิ่ม และนางแจ้ง สุขศรีหลังคลอดบุตรชายใหม่ๆ โยมบิดา-มารดา ได้นำบุตรชายยกให้เป็นบุตรบุญธรรมหลวงปู่นาค วัดหัวหิน ยอดพระเกจิชื่อดังที่เป็นที่เคารพจากชาวหัวหิน โดยหลวงปู่นาค ได้ตั้งชื่อเด็กชายว่า "ทองคำ" แต่คนทั่วไปมักเรียกชื่อท่านสั้นๆ ว่า "คำ" 

ครั้นย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม อายุครบ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหัวหิน โดยมี หลวงปู่นาค เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่เปี่ยม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ละม้าย อมรธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

ภายหลังอุปสมบทแล้วได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ณ วัดหัวหิน ได้อยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่นาค พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมควบคู่กับการฝึกสมาธิวิปัสสนาต่อ มา ท่านได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ใน ช่วงที่หลวงปู่คำ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองแกใหม่ๆ ท่านใช้วิชาแพทย์แผนโบราณช่วยบำบัดรักษาชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งท่านได้ศึกษาด้วยตัวเองจากสมุดข่อยที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ รวมถึงตำราโหราศาสตร์ไทย การลงอักขระเลขยันต์ การอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลให้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ 

ด้วยท่านเป็นพระที่มากเมตตา กิจนิมนต์พิธีพุทธาภิเษกจึงมีบ่อยครั้ง หลวงปู่คำได้เคยร่วมนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลกับอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลายรูป อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่อชิต วัดเขาเต่า, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ เป็นต้น

สำหรับ หลวงปู่คำ ถือว่าท่านเป็นยอดพระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทแห่งยุครัตนโกสินทร์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไสยเวทวิทยาคมครบถ้วน ชื่อเสียงด้านการสักยันต์ก็เป็นเลิศ ว่ากันว่าผู้ใดที่ได้รับการประสิทธิ์ประสาทวิชาหรือครอบครูสักยันต์ตำรับใหญ่ เมื่อตายแล้วจะเผาไม่ไหม้ ท่านจะสักด้วยยันต์ประจำตัวที่เรียก ว่า ยันต์ตรีนิสิงเห ตามตำรับตำราเก่าแก่ของโยมปู่ 3 ท่าน คือ หลวงปู่สุข หลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่อาจ กำกับด้วยคาถาอาคมที่ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์ หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง และหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก 

สิ่งที่ลูกศิษย์เห็นบ่อยครั้ง คือหลวงปู่คำท่านจะเขียนยันต์ลงบนกระดานชนวนวางไว้ในกุฏิข้างๆ ตัวท่านตลอด โดยท่านบอกว่า "เขียนไว้ดักขโมย วัดนี้ขโมยชุมเผลอเป็นไม่ได้ ชอบมาลักขโมยหยิบฉวยของที่วางบนกุฏิโดยไม่ได้รับอนุญาต ใครเอามากหัวล้านมาก ใครเอาไปน้อยหัวล้านน้อย ที่เห็นๆ หัวล้านไปแล้วสามคน"

การลงยันต์ ตรีนิสิงเห ต้องบริกรรมภาวนาเรียกสูตรตามลำดับรวมทั้งหมด 12 ครั้ง เป็นยันต์สำคัญมาก พระเกจิอาจารย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ยันต์นี้รวมมงคลนามศักดิ์สิทธิ์ไว้ในตัวเอง เช่น คำว่า ตรีนิสิงเห ท่านกล่าวว่า หมายถึงพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ราชสีห์ทั้งสามได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สัตตนาเค แปลว่า พญานาคผู้ประเสริฐทั้ง 7 อันได้แก่ พระพุทธเจ้า 7 พระองค์คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสปะ พระสมณโคดม

ความภาคภูมิใจของหลวงปู่คำ ซึ่งท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ด้วยความจงรักภักดี และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่สุด ท่านตั้งใจจัดทำตะกรุดโทน ด้วยเนื้อทองคำหนัก 4 บาท และอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลวาระพิเศษ เรียกว่า ตะกรุดคุมคนหรือตะกรุดมหาอำนาจ ทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงตัดลูกนิมิตอุโบสถวัดหนองแก เมื่อปี 2509

หลวงปู่คำ สุวณณโชโต ท่านได้มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2540 สิริอายุ 104 ปี 81 พรรษา นับได้ว่าท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่มีอายุยืนยาวนานรูปหนึ่งของเมืองไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น