พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พิมพ์ใหญ่ |
พระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พิมพ์เล็ก |
"วัดมหาวัน" เป็นวัดเก่าแก่มาก สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวๆ 1,200 กว่าปีเห็นจะได้ จึงสันนิษฐานว่า พระรอดก็น่าจะมีอายุการสร้างอยู่ในราวพันกว่าปีเช่นกัน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างว่าเป็นปีใดสมัยใด จนกระทั่งเมื่อร้อยกว่าปีมานี้ พระเจดีย์เกิดการทรุดตัวและพังทลายลงมา จึงได้ปรากฏพระเครื่องบรรจุอยู่ในกรุพระเจดีย์ แต่ผู้คนในสมัยนั้นยังถือกันว่าพระควรต้องอยู่ในวัดวาอาราม จึงไม่มีผู้ใดให้ความสนใจ พระเครื่องจึงยังไม่ได้รับความนิยม ชาวบ้านชาวเมืองที่ทำความสะอาดบริเวณวัด ได้นำชิ้นส่วนพระเจดีย์ที่ปรักหักพังไปถมในบ่อน้ำและถมพื้นที่ภายในบริเวณวัดให้สูงขึ้น อาจเป็นด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ภายหลังจึงมีการขุดค้นพบพระรอดจำนวนมากมายฝังอยู่ใต้ดินทั่วบริเวณวัด รวมทั้งใต้พระอุโบสถ สันนิษฐานได้อีกประการหนึ่งว่าพระอุโบสถน่าจะสร้างขึ้นภายหลังจากที่พระเจดีย์พังทลายลงมา
พระเครื่องส่วนใหญ่ที่ขุดพบที่บริเวณวัดมหาวันเป็น "พระรอด" เกือบทั้งสิ้น อาจจะมีพระบูชาอยู่บ้าง แต่ก็เป็นไปได้ว่าเมื่อคราวทำความสะอาดวัดในคราวพระเจดีย์ทลายลงมานั้น น่าจะนำพระบูชารวบรวมขึ้นไว้เพื่อบูชาก่อนแล้ว จึงไม่สามารถแยกแยะว่าพระบูชาใดที่พบอยู่ในกรุพระเจดีย์บ้าง ยกเว้นเพียง "พระรอดองค์ใหญ่" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ “พระรอดหลวง” พระบูชาที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร เท่านั้น ซึ่งในวงการพระเครื่องถือเป็น "แม่แบบ" ของพระรอด
"พระรอด" เป็นพระเครื่องขนาดเล็ก มีความกว้างประมาณ 1.1 ซม. สูง 2.3 ซม. นาม "พระรอด" อาจมาจาก
หนึ่ง…เรียกตามชื่อฤาษีผู้สร้างคือ "ฤาษีนารอด"
สอง…ผู้ที่สักการบูชาหรือนำติดตัวจะรอดพ้นภยันตรายต่างๆ หรือ
สาม…เป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มพระสกุลช่างหริภุญชัยด้วยกันจึงชื่อ "ลอด" ต่อมาเพี้ยนเป็น "รอด"
“พระรอด” จะมีพุทธลักษณะโดยรวมที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เป็นพระพุทธปฏิมากรรมที่องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย อยู่เหนืออาสนะ มีใบโพธิ์เป็นบัลลังก์อยู่ด้านหลัง แต่รายละเอียดศิลปะปลีกย่อยที่ทำให้แบ่งแยกพิมพ์ออกได้เป็น 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น มีดังต่อไปนี้
- พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ด้านบนจะมีจุดโพธิ์ติ่ง และมี 3 ใบเหนือปลายพระเกศ ด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มโพธิ์แถวนอกใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่จะมีระดับสูงเกือบเสมอกัน
- พิมพ์ใหญ่เป็นพิมพ์เดียวที่มีเส้นรอยแตกพิมพ์ลักษณะคล้ายตัวหนอนข้างพระกรรณด้านซ้ายมือขององค์พระ, เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมากวาดจากใต้ข้อศอก และประทับนั่งบนอาสนะฐาน 4 ชั้น นอกจากนี้ในองค์ที่ติดชัดจะสังเกตเห็นพระโอษฐ์เม้มจู๋ มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก
“พระรอด” จะมีพุทธลักษณะโดยรวมที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เป็นพระพุทธปฏิมากรรมที่องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย อยู่เหนืออาสนะ มีใบโพธิ์เป็นบัลลังก์อยู่ด้านหลัง แต่รายละเอียดศิลปะปลีกย่อยที่ทำให้แบ่งแยกพิมพ์ออกได้เป็น 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น มีดังต่อไปนี้
- พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ด้านบนจะมีจุดโพธิ์ติ่ง และมี 3 ใบเหนือปลายพระเกศ ด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มโพธิ์แถวนอกใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่จะมีระดับสูงเกือบเสมอกัน
- พิมพ์ใหญ่เป็นพิมพ์เดียวที่มีเส้นรอยแตกพิมพ์ลักษณะคล้ายตัวหนอนข้างพระกรรณด้านซ้ายมือขององค์พระ, เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมากวาดจากใต้ข้อศอก และประทับนั่งบนอาสนะฐาน 4 ชั้น นอกจากนี้ในองค์ที่ติดชัดจะสังเกตเห็นพระโอษฐ์เม้มจู๋ มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก
- พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้น มีอาสนะฐาน 3 ชั้น
- พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ตื้น มีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานชั้นล่างสุด เรียกกันว่า “ฐาน 2 ชั้น”
- พิมพ์ต้อ ไม่ปรากฏใบโพธิ์แถวใน พื้นผิวที่ติดองค์พระจะสูงลาดเอียงลงมาที่กลุ่มใบโพธิ์แถวนอก
- พิมพ์ตื้น มีผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์จะชิดติดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงมาที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตก
"พระรอด" เป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อดินที่เป็นมวลสารในการสร้างเป็นดินบริสุทธิ์และละเอียดมาก เมื่อเข้าเผาได้รับความร้อนไม่เท่ากัน ทำให้สีและความแข็งแกร่งขององค์พระจะมีความแตกต่างกันไป โดยสามารถแยกสีได้ทั้งหมด 6 สีตามลำดับ คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียวคาบเหลือง สีเขียว และสีเขียวเข้มเหมือนเนื้อหินครก
สีขาว เป็นพระที่อยู่รอบนอก ได้รับความร้อนน้อยที่สุด เนื้อจะออกเป็นสีขาวเกือบ บริสุทธิ์ องค์พระมีขนาดใหญ่ และเนื้อค่อนข้างนิ่ม ไม่แข็งแกร่ง
สีแดง มีขนาดใหญ่รองลงมา และเนื้อแข็งแกร่งกว่าพระรอดสีขาว
สีเหลือง ขนาดขององค์พระจะเล็กกว่า และเนื้อจะแข็งแกร่งกว่าพระรอดสีแดง
สีเขียวคาบเหลือง ขนาดจะเล็กลงกว่าพระรอดสีเหลือง เนื้อในจะเป็นสีเขียว แต่ผิวบนเป็นสีเหลือง จึงเรียกกันว่าเขียวคาบเหลือง มีความแข็งแกร่งมาก
สีเขียว ขนาดขององค์พระจะเล็กลงกว่าพระรอดสีเขียวคาบเหลือง หรือเท่าๆ กัน เนื้อพระจะแข็งแกร่งมากขึ้น
สีเขียวเข้มเหมือนเนื้อหินครก ได้รับความร้อนมากที่สุด ทำให้องค์พระหดจนมีขนาดเล็กลงมากที่สุด บางองค์เล็กจนสัดส่วนดูผิดไปก็มี เป็นพระที่มีความแข็งแกร่งที่สุด
ข้อควรระวังประการหนึ่ง เนื่องจาก ที่ขุดพบขึ้นมาใหม่ๆ นั้น จะมีดินจับอยู่เต็มองค์ต้องทำความสะอาดจึงจะได้เห็นหน้าตาขององค์พระอย่างชัดเจน ดังนั้นต้องใช้ความละเอียดและระมัดระวังอย่างมาก เพราะการทำความสะอาดองค์พระบางครั้งก็เป็นการทำลายสภาพและความงามขององค์พระไปได้เช่นกัน
พระรอด กรุพระเจดีย์ วัดมหาวัน จ.ลำพูน พระเครื่องมีความงดงามทางพุทธศิลปะและความเป็นเลิศทางพุทธคุณครบครัน สมกับที่ได้รับการยอมรับยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี
- พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ตื้น มีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานชั้นล่างสุด เรียกกันว่า “ฐาน 2 ชั้น”
- พิมพ์ต้อ ไม่ปรากฏใบโพธิ์แถวใน พื้นผิวที่ติดองค์พระจะสูงลาดเอียงลงมาที่กลุ่มใบโพธิ์แถวนอก
- พิมพ์ตื้น มีผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์จะชิดติดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงมาที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตก
"พระรอด" เป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อดินที่เป็นมวลสารในการสร้างเป็นดินบริสุทธิ์และละเอียดมาก เมื่อเข้าเผาได้รับความร้อนไม่เท่ากัน ทำให้สีและความแข็งแกร่งขององค์พระจะมีความแตกต่างกันไป โดยสามารถแยกสีได้ทั้งหมด 6 สีตามลำดับ คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียวคาบเหลือง สีเขียว และสีเขียวเข้มเหมือนเนื้อหินครก
สีขาว เป็นพระที่อยู่รอบนอก ได้รับความร้อนน้อยที่สุด เนื้อจะออกเป็นสีขาวเกือบ บริสุทธิ์ องค์พระมีขนาดใหญ่ และเนื้อค่อนข้างนิ่ม ไม่แข็งแกร่ง
สีแดง มีขนาดใหญ่รองลงมา และเนื้อแข็งแกร่งกว่าพระรอดสีขาว
สีเหลือง ขนาดขององค์พระจะเล็กกว่า และเนื้อจะแข็งแกร่งกว่าพระรอดสีแดง
สีเขียวคาบเหลือง ขนาดจะเล็กลงกว่าพระรอดสีเหลือง เนื้อในจะเป็นสีเขียว แต่ผิวบนเป็นสีเหลือง จึงเรียกกันว่าเขียวคาบเหลือง มีความแข็งแกร่งมาก
สีเขียว ขนาดขององค์พระจะเล็กลงกว่าพระรอดสีเขียวคาบเหลือง หรือเท่าๆ กัน เนื้อพระจะแข็งแกร่งมากขึ้น
สีเขียวเข้มเหมือนเนื้อหินครก ได้รับความร้อนมากที่สุด ทำให้องค์พระหดจนมีขนาดเล็กลงมากที่สุด บางองค์เล็กจนสัดส่วนดูผิดไปก็มี เป็นพระที่มีความแข็งแกร่งที่สุด
ข้อควรระวังประการหนึ่ง เนื่องจาก ที่ขุดพบขึ้นมาใหม่ๆ นั้น จะมีดินจับอยู่เต็มองค์ต้องทำความสะอาดจึงจะได้เห็นหน้าตาขององค์พระอย่างชัดเจน ดังนั้นต้องใช้ความละเอียดและระมัดระวังอย่างมาก เพราะการทำความสะอาดองค์พระบางครั้งก็เป็นการทำลายสภาพและความงามขององค์พระไปได้เช่นกัน
พระรอด กรุพระเจดีย์ วัดมหาวัน จ.ลำพูน พระเครื่องมีความงดงามทางพุทธศิลปะและความเป็นเลิศทางพุทธคุณครบครัน สมกับที่ได้รับการยอมรับยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น