ลักษณะเนื้อพระ เป็นพระกรุเนื้อดินที่มีเนื้อหาเนียนละเอียด ผ่านการกรองอย่างดีไม่มีกรวดทรายเลยสักเม็ด ผิวมีตั้งแต่แบบแห้งแกร่ง จนถึงละเอียดนุ่มแบบกำแพง มีความมันจัด
วิธีพิจารณาเนื้อหาพระกรุ ลานดอกไม้ ก็เหมือนกับการดูพระกรุทั่วไปคือ แม้ว่าเนื้อจะแห้งหรือจะมัน ก็จะต้องมีความแห้งผาก หมดยางอยู่ในที เป็นการสัมผัสโดยสายตา ถ้าไม่ชำนาญพระที่ผิวมัน ก็ลองมองหารอยถลอก หรือจุดที่เสียผิวไปก็ได้
สี ของพระจะมีทั้งเหลืองพิกุล น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม สีส้มหรือแดงหม้อใหม่ แดงเข้ม เขียว ไปจนถึงดำ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เผา เหมือนกับพระเนื้อดินเผาปกติทั่วไป คราบไคล และสิ่งที่อยู่บนผิว บนผิวหน้าของพระหลายๆองค์จะมีรอยว่านหลุด ซึ่งเป็นปกติของพระเก่า ที่มวลสารส่วนประกอบภายในที่เป็นอินทรีย์สารเช่นว่านต่างๆจะยุบตัวหายไป(บาง ทีก็เกิดจากการเผา) ทำให้เกิดโพรงในองค์พระ นานเข้าโพรงนั้นจะยุบตัว ทำให้เป็นร่องบนผิวพระ
พระสภาพเดิมๆจะมีคราบน้ำว่านติดอยู่ตามซอก หรือลายนิ้วมือด้านหลัง สีน้ำตาลเข้มอมเขียวหรือสีแดงเข้ม มีเหมือนกันที่ลงรัก แต่พบน้อยมาก องค์ไหนที่แห้งๆไม่ผ่านการจับต้อง ส่องแล้วจะเห็นคราบมุกระยิบระยับ นั่นก็คือแคลเซี่ยมในอากาศภายในกรุนั่นเอง
ดิน กรุที่อยู่มาคู่กับพระที่บรรจุกรุอยู่เป็นเวลานาน สีมักจะออกเขียวขี้ม้า น่าจะเกิดจากตะไคร่ที่จับตัวอยู่กับเจดีย์ หรือเกิดขึ้นเพราะความชื้นภายในกรุ ต่อมาทับถมกันเข้าเป็นเวลานาน กลายเป็นดินสีเขียวๆจับองค์พระ
องค์ที่เนื้อละเอียดและมีความจัดนุ่มๆ ถ้าแบบพิมพ์คล้ายของเมืองกำแพงฯ ก็จะถูกผู้ขายบางท่านย้ายกรุให้โดยอัตโนมัติครับ
พิมพ์ ของพระ มีมากมายหลายแบบด้วยกัน ซึ่งทุกพิมพ์ล้วนเป็นศิลป์สุโขทัยทั้งสิ้น มีทั้งแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และที่ล้อหรือมีความใกล้เคียงกันกับพระกรุกำแพงเพชร
ลักษณะของ พิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนูนต่ำ มีเส้นสายรายละเอียดที่เล็กมาก ยากที่จะทำตามอย่างได้ และแม้ว่าพระจะมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ๆละพิมพ์อย่างเช่นพิมพ์นั่ง หรือพิมพ์นางที่พบมาก ก็ยังมีแม่แบบแม่บล็อคอยู่อีกหลายตัว อย่างน้อยๆก็ 4-5 บล็อคที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถสร้างพระจำนวนมากได้ในเวลาที่ไม่นานนัก และยังแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่อลังการของพิธีสร้าง ว่าไม่ใช่คนธรรมดาตาสีตาสาสร้างแน่นอน ต้องเป็นพิธีใหญ่ใช้ทุนทรัพย์มากทีเดียว จึงจะสร้างพระได้มากพิมพ์ขนาดที่ว่านี้
จุดน่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ พระกรุนี้ไม่มี่การตัดปีกด้วยของมีคม แต่ใช้มือคลึงๆเอาตอนกดพิมพ์จากด้านหลัง ปีกพระจึงมีกว้างบ้าง แคบบ้าง ตรงบ้าง เบี้ยวบ้าง ไม่แน่นอนแล้วแต่ผู้สร้าง จึงไม่มีขนาดมาตรฐานที่แน่นอน บางองค์เป็นพิมพ์เดียวกันมีความเล็กใหญ่ต่างกันมากๆ ด้านหลังมีลายมือผู้กดพิมพ์ทุกองค์
พระรุ่นนี้มีเนื้อชินไหมคับ
ตอบลบผมแยกไม่ออกครับ ว่าสุโขทัย หรือกำแพง และผมก็เชื่อว่าไม่มีใครแยกออกได้...มนุษย์ มันมากำหนดเองทั้งนั้น...แต่ถ้าเป็นพุทธศิลป์ ก็ว่าไปอย่าง แต่นี่ ยุคสุโขทัย กับกำแพง มันยุคเดียวกัน ถ้าจะบอกว่าฝีมือช่าง มันก็แค่ความเชื่อเท่านั้น ลองคิดครับ คนสมัยนี้ที่มีฝีมือจัดๆ ก็ยังแกะลายช่างแบบสกุลอยุธยาได้เหมือนเป๊ะเลย แล้วนำไปฝังกรุดูซิครับ แล้วขุดขึ้นมา รับรองแยกไม่ออกหรอก...
ตอบลบ